วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

การบริหารจิต

พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการ กระทำทุกอย่าง จะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน   การฝึกจิตหรือการบริหารจิต จึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา อ่านเพิ่มเติม

วันสำคัญ

วันสำคัญ คือ วันที่มีความสำคัญหรือมีความพิเศษในด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีประเพณีหรืองานฉลองในวันสำคัญแต่ละวันแตกต่างกันไป อ่านเพิ่มเติม

พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

   พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย 
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท อ่านเพิ่มเติม

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ

  พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมี อ่านเพิ่มเติม

พุทธสาวิกา พระนางมัลลิกา

พระนางมัลลิกา ที่มีบทบาทสำคัญในพระพุทธศาสนามีอยู่ 2 คน  คนหนึ่งเป็นธิดาของนายมาลาการ (ช่างทำดอกไม้)  ในเมืองสาวัตถี ต่อมาได้เป็นมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล  พระนางมัลลิกาอีกคนหนึ่งเป็นธิดาของมัลละกษัตริย์องค์หนึ่ง  ในเมืองกุสินารา ภายหลังได้สมรสกับพันธุละเสนาบดี  ซึ่งพระนางมัลลิกาที่จะศึกษาในที่นี้ หมายถึง  พระนางผู้เป็นภรรยาของพันธุละเสนาบดี อ่านเพิ่มเติม

ศีล 5

ศีล หมายถึง ความตั้งใจที่งดเว้นจากความชั่ว ความทุจริต และสิ่งที่ไม่ดีทุกประการ ดังที่พระสารีบุตรได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคว่า “ศีล คือ เจตนา ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากกายทุจริต 3 (คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม) และวจีทุจริต 4 (คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ)”อ่านเพิ่มเติม
ศีล 5 คืออะไร

ศาสนาต่างๆในประเทศไทย

จากสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประชากรในประเทศไทยนับถือศาสนา 99.37% โดยแบ่งออกเป็นศาสนาพุทธ 93.83% ศาสนาอิสลาม 4.56% ศาสนาคริสต์0.80% ศาสนาฮินดู 0.086% ลัทธิขงจื๊อ 0.011% และอื่นๆ 0.079% และมีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาและไม่ทราบศาสนา 0.27% และ 0.36% ตามลำดับ[1]อ่านเพิ่มเติม